เลือกใช้ท่อ HDPE ชั้นคุณภาพไหน (PE80/PE100) ให้ตอบโจท์ยการใช้งาน

ท่อเกษตร ท่อร้อยสายไฟ พีอี PE80 และ PE100 แตกต่างกันอย่างไร

ประโยชน์ของแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง? 

 

สินค้าที่มีหน้าตาเหมือนกัน ลักษณะเดียวกัน แต่ทำไม ราคาไม่เท่ากันหลายๆ ครั้งที่คุณลูกค้าเดินผ่านร้านค้าพร้อมกับข้อสงสัยว่า เราจะต้องเลือกใช้ท่อ PE80 หรือ PE100 กันแน่ ซี่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าท่อพอลิเอทิลีนพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ถูกเลือกเพื่อการใช้งานสำหรับระบบส่งน้ำประปา รดน้ำเพื่อเกษตรระบบร้อยสายไฟ สายสื่อสาร เกือบจะทุกอุตสาหกรรมที่เลือกใช้สำหรับระบบสาธารณูปโภค  เพราะเหตุใดจึงต้องมีการแยกชั้นคุณภาพ สำหรับประเภทการใช้งานที่เหมือนกันวันนี้ SPEED พร้อมที่จะมาไขข้อสงสัยของSPEEDERS หรือผู้ใช้ทั่วไป ที่อาจจะยังใหม่กับวงการท่อ HDPE ไม่มากก็น้อย

ชั้นคุณภาพ PE ทำหน้าที่บ่งชี้ความทนทานของตัวท่อในการรับน้ำหนักของวัสดุ ในระหว่างที่ PN (Pressure Nominal) คือความสามารถในการรับแรงดันของตัวท่อ ตั้งแต่ชั้นบาร์ PN4 – PN25 หากชั้นแรงดันยิ่งสูงเท่าไหร่ แปลว่าผนังท่อยิ่งหนาเท่านั้น เริ่มจากท่อชั้นคุณภาพ PE80 ซึ่งได้เป็นที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมก๊าซน้ำ มานานนับหลายปี ผนังท่อมีลักษณะบาง ง่ายต่อการกลบฝังไว้ใต้ดิน โดยส่วนใหญ่จะถูกใช้สำหรับขนาดที่ค่อนข้างสูง และชั้นแรงดันที่บาร์ระดับปานกลาง-สูง สืบเนื่องจากประสิทธิภาพของผนังท่อที่หนากว่า PE100 จึงสามารถขดเป็นม้วนได้ ไม่ทำให้ท่อมีรอยบุบ ง่ายต่อการจัดส่ง โดยจะระบุชั้นคุณภาพไว้ที่ตัวท่อเลย เช่น“HDPE PN8 PE80” จึงกลายเป็นรายการสินค้า hot items ของชาวเกษตรกร และชาวสวนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ท่อ PE100 กลับกลายเป็นทางเลือกของลูกค้าจากหลากหลายหน่วยงานหลัก  มาจากปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ถูกกว่า  และผลจากการติดตั้งที่มีประสิทธิภาพในระยะยาวกว่าท่อ PE80 พร้อมรับแรงดันได้เท่ากัน และทนทานต่อสภาพอากาศจนถึง -30°C การันตีว่าไม่แตกง่าย ถึงแม้ว่าผนังท่อจะบางกว่า นอกจากนี้ คุณประโยชน์ความบางของผนังท่อ ยังทำให้น้ำหนักสินค้าเบา และอัตราการไหลผ่านของน้ำรวดเร็วอีกด้วย เหมาะกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ90-710 มมอย่างไรก็ตาม ท่อชั้นคุณภาพ PE80 และ PE100 ไม่แนะนำให้รับแรงดันอย่างต่อเนื่องที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 ° C สำหรับของเหลว รวมถึงท่อระบายน้ำทิ้ง และน้ำเสีย หรือ 30 ° C สำหรับของเหลวที่มาจากก๊าซ.

เรื่องของท่อนั้นมีประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมคือ อัตราการไหลภายในท่อและค่าแรงดันสูญเสียภายในท่อ(Head Loss) ที่เกิดขึ้นในขณะลำเลียงน้ำ ซึ่งผู้ออกแบบต้องเรียนและนำไปคำนวณในเรื่องการเลือกใช้ท่อและปั้มน้ำในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสะดวก วิธีการคำนวณจากสูตรของฮาเซน-วิลเลียมส์  เพื่อการออกแบบยังถูกนิยมเป็นอย่างมาก โดยคิดจากการไหลของน้ำที่ต่างกันเพื่อให้การเลือกใช้แรงดันสูญเสียภายในเส้นท่อได้ใกล้เคียงที่สุด

 


 

สนใจติดต่อสอบถาม:

Tel: (+66) 97 156 2824

Email: speedsupplyth@gmail.com

Line: (ไม่ใส่ @) speedsupplyth

Website: www.speedsupplyth.com

Shopee: https://shopee.co.th/speedsupply_th

Lazada: https://s.lazada.co.th/s.6XQSM

Visitors: 26,597